วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กระทิงงงงงงงงงง


กระทิง (Gaur) เป็นวัวป่าชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae ขนยาว ตัวสีดำหรือดำแกมน้ำตาล เว้นแต่ที่ตรงหน้าผากและครึ่งล่างของขาทั้ง 4 เป็นสีขาวเทา ๆ หรือเหลืองอย่างสีทอง เรีบกว่า " หน้าโพ " ขาทั้ง 4 ข้างตั้งแต่เหนือเข่าลงไปถึงกีบเท้ามีสีขาวเทาหรือเหลืองทอง ทำให้มองดูเหมือนสวมถุงเท้า สีขนของกระทิงบริเวณหน้าผากและถุงเท้าเกิดจากคราบน้ำมันในเหงื่อซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ชนิดนี้ คอสั้น และมีพืม (เหนียงคอ) ห้อยยาวลงมาจากใต้คอ เขามีสีเขียวเข้ม ปลายเขามีสีดบริเวณโคนเขามีรอยย่นซึ่งรอยนี้จะมีมากขึ้นเมื่อสูงวัยขึ้น

กระทิงตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ลูกที่เกิดขึ้นจะมีสีน้ำตาลแกมแดงเหมือนสีขนของเก้ง มีเส้นสีดำพาดกลางหลัง ลูกกระทิงขนาดเล็กจะยังไม่มีถุงเท้าเหมือนกระทิงตัวโต มีความยาวลำตัวและหัว 250 - 300 ซ.ม. หาง 70 - 105 ซ.ม. ความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่ 170 - 185 ซ.ม. น้ำหนัก 650 - 900 ก.ก. โดยตัวผู้มีน้ำหนักมากกว่าตัวเมีย มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของจีน อินเดีย ภูฐาน เนปาล พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย โดยแบ่งออกได้เป็นพันธุ์ย่อย (Subspecies) 5 สายพันธุ์ คือ Bos gaurus laosiensis พบในพม่าถึงจีน Bos gaurus gaurus พบในอินเดียและเนปาล Bos gaurus readei, Bos gaurus hubbacki พบในไทยและมาเลเซีย และ Bos gaurus frontalis หรือกระทิงเขาทุย มีเขาที่สั้น เชื่อว่าเป็นลูกผสมระหว่างกระทิงกับวัวบ้าน พบมากในอินเดีย

ไม่มีความคิดเห็น: